Bootstrap

ความเป็นมา

ความเป็นมาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

         มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มุ่งเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางด้านการวิจัยของคณาจารย์ให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงผลงานวิจัยของคณาจารย์มีคุณภาพได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้กำหนดพันธกิจหลักด้านวิจัยและแนวทางยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยอย่างชัดเจน ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2579) ให้ความสำคัญของงานวิจัยและมีเป้าหมายสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล”เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติ ประกอบกับการวิจัยในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับการรับรองทางด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย และเพื่อยกระดับมาตรฐานการวิจัย


           ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นไปในแนวทางการดำเนินงานตามคุณภาพและมาตรฐานสากล มหาวิทยาลัยจึงได้เริ่มดำเนินการด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ดังนี้

31 มีนาคม 2558 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับเขต ครั้งที่ 1 (ระยะเวลาดำเนินการ 31 มีนาคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2560) โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร (แม่ข่าย) และสถาบันเครือข่ายเข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จำนวน 6 สถาบัน

13 กันยายน 2559 ผู้บริหารและคณาจารย์ นำโดย ผศ.ดร.สมบูรณ์ นิยม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ในการเตรียมความพร้อมการก่อตั้งหน่วยงานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

29 กันยายน 2559 แต่งตั้งคณะทำงานเข้าร่วมประชุม และร่วมเป็นกรรมการสมทบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับเขต มหาวิทยาลัยนเรศวร

มกราคม 2560 จัดทำ (ร่าง) วิธีดำเนินงานมาตรฐาน (SOPs) โดยมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับเขต มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นพี่เลี้ยงในการตรวจสอบเอกสาร

23 มีนาคม 2560 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับเขต ครั้งที่ 2 (ระยะเวลาดำเนินการ 23 มีนาคม 2560 ถึง 23 มีนาคม 2562) โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร (แม่ข่าย) และสถาบันเครือข่ายเข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จำนวน 8 สถาบัน

ช่วงปี 2561 ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) วิธีดำเนินงานมาตรฐาน (SOPs) แล้วนำเข้าพิจารณาในสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แต่ยังไม่สำเร็จ

20 กุมภาพันธ์ 2562
-แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมี ผศ.ดร.อรสา เตติวัฒน์ เป็นประธานกรรมการ
-แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำวิธีดำเนินการมาตรฐาน (SOPs) โดยมี ผศ.ดร.อรสา เตติวัฒน์ เป็นประธานอนุกรรมการ


27 พฤษภาคม 2562 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนระดับเขต ครั้งที่ 3 (ระยะเวลาดำเนินการ 27 พฤษภาคม 2562 ถึง 27 พฤษภาคม 2564) โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวร (แม่ข่าย) และสถาบันเครือข่ายเข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จำนวนทั้งสิ้น 17 สถาบัน

29 สิงหาคม 2562
-อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU-RREC)
-คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค (กรรมการหลัก) และคณะกรรมการสมทบเพื่อพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร

10 มกราคม 2563 แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ฉบับที่ 2) โดยมี ผศ.ดร.อรสา เตติวัฒน์ เป็นประธานกรรมการ

16 มกราคม 2563 คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค (กรรมการหลัก) และคณะกรรมการสมทบเพื่อพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร (เพิ่มเติม)

12 พฤษภาคม 2563 ประกาศใช้วิธีดำเนินการมาตรฐาน (NSRU-HEC SOPs) ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2563)

กรกฎาคม 2563 เริ่มพิจารณาโครงการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่พิจารณาแบบยกเว้น (Exemption) และแบบเร่งรัด (Expedite)

22 กรกฎาคม 2564 ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วย จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ช่วงปี 2564 ดำเนินการปรับปรุง (ร่าง) วิธีดำเนินงานมาตรฐาน (SOPs) แล้วนำเข้าพิจารณาในสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แต่ยังไม่สำเร็จ

26 สิงหาคม 2564 แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ฉบับที่ 2) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อรสา เตติวัฒน์ เป็นประธานกรรมการ

6 มกราคม 2565 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ฉบับที่ 2) โดยมี อาจารย์สุชา นุ่มเกลี้ยง เป็นประธานอนุกรรมการ



Date. 2022-05-01
Count. 3326