Bootstrap

คำถามที่พบบ่อย

 

ตอบ การวิจัยในมนุษย์ทุกโครงการต้องขอคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ EC (Ethics committee)/IRB(Institutional Review Board) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บสิ่งส่งตรวจ ตัวอย่างชีวภาพจากอาสาสมัครหรือศพ การสัมภาษณ์ ตอบคำถามในแบบสอบถาม เป็นต้น 

ตอบ ผู้วิจัยควรคำนึงถึง เหตุผล (rationale) และหลักวิทยาศาสตร์ (science) ของงานวิจัย วิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของงานวิจัย ความเปราะบางของผู้เข้าร่วมการวิจัย ความเสี่ยงและประโยชน์ (risk/benefit) ที่ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับ กระบวนการชี้แจงและขอความยินยอมผู้จะเข้าเป็นผู้เข้าร่วมวิจัย และเอกสารที่ใช้เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการวิจัย ต้องมีข้อมูลและภาษาที่กระชับ ครบถ้วน ชัดเจน และถูกต้องตามหลักจริยธรรม


ตอบ ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัยทุกครั้ง หากโครงการวิจัยใดได้ดำเนินการไปแล้วก่อนยื่นขออนุมัติจากคณะกรรมการฯ คณะกรรมการฯ จะไม่ให้การรับรองโครงการย้อนหลัง โดยจะลงวันที่รับรอง ณ วันที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น

ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่
1. โครงการวิจัยแบบยกเว้น (Exemption protocol) ผู้วิจัยสามารถศึกษาเกณฑ์ประเมินการทบทวนโครงการวิจัยแบบยกเว้นพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Exemption review) ในแบบฟอร์ม AF 01-07
2. โครงการวิจัยแบบเร่งรัด (Expedited protocol) ผู้วิจัยสามารถศึกษาเกณฑ์ประเมินการทบทวนโครงการวิจัยแบบแบบเร่งรัด (Expedited review) ในแบบฟอร์ม AF 02-07
3. โครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (Full board protocol) ผู้วิจัยสามารถศึกษาเกณฑ์ประเมินการทบทวนโครงการวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (Full Board Review) ในแบบฟอร์ม AF 03-07

ตอบ เมื่อกระบวนการรับโครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว โครงการวิจัยแต่ละประเภทจะรับการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมมนุษย์ ดังนี้

หมายเหตุ NU-RREC คือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร
NSRU-HEC คือ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ตอบ เบื้องต้น ในขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม จะต้องมีขั้นตอนของการประเมินความเหมาะสมของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับให้คำถามมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้วิจัยต้องการ
รวมถึงการใช้ภาษา/สำนวนในการตั้งข้อคำถามที่เหมาะสม (อันนี้อยู่ที่ผู้วิจัยว่าจะส่งเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหรือไม่ และเลือกผู้เชี่ยวชาญคนใดในการตรวจสอบ)

ในส่วนของการพิจารณาจริยธรรมฯ จะดูถึงความเหมาะสมของการใช้ภาษาหรือคำถามที่ไม่ละลาบละล้วงถึงความเป็นส่วนตัว หรือคำถามที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของอาสาสมัคร (คำถามในทางลบ) เช่น ยากจนไม่มีเงิน ... มีข้อจำกัดทางการเงิน

รวมทั้งเกณฑ์ในการคัดเข้า/คัดออกอาสาสมัคร การดูแลปกป้องอาสาสมัครในระหว่างที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการที่ผู้วิจัยใช้ในการรักษาความลับหรือข้อมูลที่ได้จากอาสาสมัคร ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ 

7. การยื่นขอรับการพิจารณาจริยธรรมมนุษย์ ในระบบออนไลน์ของโครงการวิจัยที่นำส่งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU-RREC) ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

ตอบ ผู้วิจัยสามารถศึกษาขั้นตอนการยื่นโครงการวิจัยได้ตามขั้นตอนการดำเนินการดังภาพ และสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือสำหรับการยื่นโครงการวิจัยเพื่อเสนอขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่ายภูมิภาค มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU-RREC) ได้ที่ https://docs.google.com/document/d/1WJxyVnxnF4suSww2O2SX3PtojQMvLo5Z_xsc3uWZdjw/edit